Skip to main content

ข้าวราดแกง VS แกงราดข้าว : รูปแบบชื่ออาหารกับหลักไวยากรณ์

เรื่องทั้งหมด ตั้งต้นมาจากเมื่อสามวันก่อน มีกรณีร้านแห่งหนึ่ง ขึ้นป้ายว่า "แกงราดข้าว" และมีผู้นำมาแชร์ในทวิตเตอร์ จนเกิดการพูดคุยออกความเห็นกันอย่างกว้างขวางในทวิตเตอร์ จนเวลาผ่านมาเข้าสู่วันที่สี่แล้ว ก็ยังมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกันอยู่ ซึ่งผมได้แสดงความเห็นอย่างคร่าวๆ ไว้ดังนี้
https://twitter.com/thanyakij/status/905360396822958080
ซึ่งหลังจากนั้นมีการแสดงเห็นต่อเนื่องกันอย่างยาวเหยียดตามมา โดยผมขออนุญาตไล่เรียงทีละประเด็นดังนี้

ชื่อเมนูคืออะไรกันแน่

พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ระบุชื่อเมนูนี้ว่า "ข้าวแกง" และอธิบายต่อว่า ร้านที่ขายอาหารประเภทนี้ เรียกว่า "ร้านข้าวแกง"

ครับ ข้าวแกง คือ ข้าวกับแกง ซื่อๆเนี่ยแหละ คือต้องบอกว่า ในอดีตแล้ว มันเป็นเมนูที่มี ข้าวต่างหากเป็นจานๆ แล้วตักแกงเป็นถ้วยๆ แยกไป ไม่ได้ราดเลย แต่แกงนี้มักเป็น delicatessen เป็นอาหารปรุงสำเร็จแล้ว ไม่ใช่ร้านอาหารที่ปรุงทีละจาน ทีละครั้ง

แล้วข้าวราดแกง มาจากไหน เอาซื่อๆเลย จากข้าวแกง ที่กินแยกสองจาน แยกข้าวแยกกับ สังคมเราก็พัฒนามาให้เป็นอาหารจานเดียว เพื่อความรวดเร็ว เลย "ตักราด" จากข้าวแกง เลยเป็น ข้าวราดแกง เพื่อแสดงว่า อ๋อ มันไม่ใช่แบบกับข้าวแยกจานนะ

ทำไมเรียกอาหารนี้ว่า แกงราดข้าว ไม่ได้

อธิบายง่ายๆก่อนว่า ครั้งนี้เราพูดถึงอาหารจานเดียว ซึ่งหลักใหญ่ใจความมันคือ "ข้าว" และองค์ประกอบอื่นคือ "แกง" ซึ่งแกงเนี่ย มันมีความหมายว่า กับข้าวปรุงสำเร็จ (delicatessen หรือ deli) ทั้งหมดทุกประเภท ไม่ได้เจาะจงว่าเป็นเมนูอะไร ซึ่งอาจจะเป็นผัดกะเพรา หรือยำหมูยอ ก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นแกงที่เป็น curry เสมอไป

ดังนั้นแล้ว ด้วยรูปแบบไวยากรณ์ของชื่ออาหาร (ซึ่งจะอธิบายโดยละเอียดต่อไปทีหลัง) เราจะเอาสิ่งที่เป็นหลักสำคัญ เป็น subject ของวลีที่เราจะสร้างนี้ ในที่นี้คือ "ข้าว" มาเป็นประธานของวลี (ระวังสับสน: ไม่ใช่ประธานของประโยค) ต่อจากประธานของวลี ก็คือส่วนขยาย "ราดแกง" เป็นกริยาวลีเดียวกัน ถ้าตั้งสมการจะได้ตามนี้
ข้าว (นามประธาน) + ราดแกง (ส่วนขยาย)
เพื่ออธิบายว่าข้าวเนี่ย เป็นข้าวราดแกง ไม่ใช่ข้าวคลุกกะปิ หรือข้าวผัดทะเล

แล้ว "แกง" ไม่ใช่ประธานหรือ?  

ครับ แกงไม่ใช่ทั้ง ประธานของวลี และประธานของประโยค ซึ่งคนที่ถามคำถามนี้จะเข้าใจว่า ข้าวราดแกง เป็นประโยค Passive voice ข้าวเป็นกรรม ถูกกระทำกริยาราด และแกงคือประธานของประโยค ซึ่งถ้ากลับประโยคให้เป็น Active Voice จึงควรเป็น แกงราดข้าว นั่นเอง
มันดูๆแล้วเหมือนจะใช่ แต่ถ้าลองพิจารณาตาม "แกง" ไม่ได้เป็นผู้กระทำกริยา "ราด" แต่เป็นคนต่างหากที่เป็นคนทำกริยาการราดนี้ แกงก็อยู่ของแกง แกงจะเอาตัวเองไปราดข้าวไม่ได้ ดังนี้แล้ว แกงจึงไม่ใช่ประธานของประโยค แกงมีสถานะเป็น complement หรือส่วนขยายกริยา ให้มีความชัดเจนขึ้น ซึ่งในที่นี้ จึงได้กริยาวลีเป็น "ราดแกง" เช่นเดียวกับ ผัดกะเพรา ซึ่งกะเพรา มาขยายกริยาผัด ให้รู้ว่านี่เป็นผัดกะเพรา ไม่ใช่ผัดถั่วงอก

เอาจริงๆถ้าว่ากันตามโครงสร้าง ทำวลีนี้ให้เป็นประโยคแล้ว แกงเป็นกรรมด้วยซ้ำ เพราะเป็นผู้ถูกตักไปราด  เช่น ฉันตักแกงราดข้าว (ฉันตักแกงเพื่อราดข้าว) เป็น "ประโยคความซ้อน" หรือ "สังกรประโยค" (ถ้าลืมไปแล้วอนุญาตให้ไปเปิดหนังสือหลักภาษาไทยก่อน) ซึ่งประโยคนี้ซ้อนในรูป นามานุประโยค แปลว่า อนุประโยคทำหน้าที่เป็นนาม แปลไทยเป็นไทยคือ ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นคำนาม

ฉันตักแกง เป็นอนุประโยค แกงเป็นกรรมตรง เพราะโดนตัก และ ข้าวเป็นกรรมรองเพราะโดยฉันตักแกงมาราด

เรื่องกริยา ราด นี้จะต้องพิจารณากรรมเป็นกรณีๆ เช่น ราดน้ำ น้ำถูกกระทำกริยาราดเลยเป็นกรรมตรง ราดพิ้น พื้นเป็นกรรมรอง พื้นไม่ได้ถูกกระทำกริยาราด แต่พื้นได้รับผลกระทบจากกริยาราดนี้

แล้ว แกงราดข้าว ใช้ได้ไหมถ้าจะใช้

ได้! ถ้าจะแปลแกงราดข้าวให้ได้นั้น แกงราดข้าวมีแกงเป็นประธานของวลี โดยมีราดข้าวเป็นส่วนขยาย ในที่นี้ก็จะหมายถึง แกงใดๆ (ไม่ได้ระบุ) ซึ่งมีไว้ราดข้าว แต่จะราดหรือไม่ราดก็ไม่รู้ ถ้าเติมคำให้เต็ม แกงราดข้าวคือ แกงสำหรับราดข้าว ซึ่งแกงราดข้าวนี้ก็คือ delicatessen ทั้งหมดทุกประเภทนั่นเอง
แกง(สำหรับ)ราดข้าว หรือ delicatessen
อีกนัยหนึ่งคือเน้นความสำคัญของแกง ซึ่งอันนี้อาจจะต้องระบุว่าเป็นแกงอะไร จะมาพูดว่าแกงลอยๆไม่ได้ไม่เข้าใจ เช่น แกงเขียวหวานราดข้าว ถามว่าใช้ได้มั้ยถ่้าจะใช้ใช้ได้มั้ย ก็ตอบเลยว่า ได้!!! มันเป็นภาษาพูด พูดยังไงก็ได้ให้คนเข้าใจ ไม่จำเป็นต้องถูกไวยากรณ์ บางครั้งเราก็พูดอยู่โดยไม่รู้ตัวกันประจำ
ป้า! กะเพราราดข้าว จานนึง! #มิตรสหายท่านหนึ่ง
วลี กะเพราราดข้าว นี้ก็เหมือนแกงราดข้าว แต่นั่นเป็นเพราะเรารู้อยู่แล้วว่า ป้ามีกะเพราอะไร หรือเป็นค่าดีฟอลต์อยู่แล้วเช่นหมูสับ ซึ่งจริงๆ มันก็ควรเป็น ข้าวผัดกะเพรา (ข้าวราดผัดกะเพรา แต่เราไม่พูดกัน มันเป็นภาษาเขียน) ส่วนพารามิเตอร์จะเป็นกะเพราอะไร หมู เห็ด เป็ด ไก่ กุ้ง หมึก ปู ทะเล เจ มัง ฯลฯ ก็ต่อท้ายได้ ถ้าไม่ต่อท้ายบอกป้า ค่าดีฟอลต์มันคือหมูสับ

รูปแบบชื่ออาหารกับหลักไวยากรณ์

ก่อนเอนทรีจะยาวไปมากกว่านี้ ขอตัดจบด้วยการสรุปรูปแบบไวยากรณ์ในชื่ออาหาร โดยรายการอาหาร "ส่วนใหญ่" จะมีฟอร์แมทเป็น "นามวลี" ประมาณนี้
นามประธาน + ส่วนขยาย

  นามประธาน (+ขยายนาม)  +  กริยา (+ขยายกริยา)  +  พารามิเตอร์หลัก  +  (พารามิเตอร์รอง (+ .... )) 
 อาจจะต้องถึงขั้นอุทานว่า เหี้ย เมื่อเห็นสมการแบบนี้ แต่เชื่อเถอะมันเป็นแบบนี้จริงๆ

กลุ่มเมนูข้าว หรือสิ่งแทนข้าว

    • ข้าวผัดหมู
    • ข้าวคลุกกะปิ
    • ข้าวผัดกะเพราไก่ไม่เผ็ด
    • สปาเก็ตตี้(ราด)ซอสครีมเห็ด
    • มาม่าผัดขี้เมา
    • เส้นใหญ่ผัดซิอิ๊วทะเล
    • เส้นราเมนโฮลวีทผัดขี้เมาอกไก่นุ่ม
    • เส้นหมี่(ราด)น้ำหมู ไม่ตก ไม่ตับ ไม่ผัก ไม่พริก ไม่งอก ไม่ชิ้น ไม่กระเทียม(ไม่ต้องแดก)
      https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjHDDgR9tElSHFr0jIjG_CjGu3uzAfnCE1yp5YBKpyuHVL5gshpKw3mlGevMg_MqT1HY5ev97G46B0-ZnDimAW6kY9uGif59X2ynclxz6X1cFeSkOmDbQkGePOnNtsUgCu_brZpPWaeqt7d/w1733-h974-no/
      นิยมเรียกเมนูนี้ว่า ข้าวคลุกกะปิ ไม่นิยมเรียกว่า กะปิคลุกข้าว

        กลุ่มกับข้าว/ของว่าง ที่เน้นวัตถุดิบหลัก

            • ไก่ผัดเม็ดมะม่วงหิมพานต์
            • ซี่โครงหมู(กริล)ซอสบาร์บีคิว
            • โปรตีนเกษตรผัดฟองเต้าหู้
            • กุ้งอบวุ้นเส้น
            • วุ้นเส้นกุ้งอบหม้อดิน
            • ปูผัดผงกะหรี่
            • ปลาทอดสามรส
            • แซลม่อนย่างซิอิ๊ว
            • หอยเชลล์อบชีส
            • หมึกผัดพริกแกง
            • หมูทอดเชียงราย
            • ไข่ต้ม
            • กล้วยตาก
            • มันเชื่อม
            • ฟักทองแกงบวด
            https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjK8N5Gh3fs_NTPT928QDYXEQ7fxQkJWxaEennx9FEReTEzRc7uTjx_M6pxKjxirR1s8DCJt5iRilw8D8L9Sz7VhM_216tfCWbvhn3udFnJHZ8PifNmyBD48KAKY8mdaBd1iWjBP_8xOMIg/w1560-h878-no/
            ซี่โครงหมู(กริล)ซอสบาร์บีคิว

            กลุ่มกับข้าว ที่ไม่ได้เน้นวัตถุดิบหลัก แต่เน้นที่กระบวนการ

            • ต้มจืดวุ้นเส้น เต้าหู้ หมูสับ เยื่อไผ่ เอฟเวอรี่ติงจิงกาเบล
            • ต้มข่าไก่
            • ต้มยำกุ้ง
            • ยำหมูยอ
            • ยำสามกรอบ
            • แกงเลียง
            • แกงเขียวหวานกุ้ง
            • แกงส้มชะอมไข่ทอด กุ้ง ยอดมะพร้าวอ่อน ดอกแค ผักรวม เอฟเวอรี่ติงจิงกาเบล
            • ผัดขิง
            • ผัดฉ่าทะเล
            แกงส้มชะอมไข่ กุ้ง ยอดมะพร้าวอ่อน
            โดยกลุ่มรายการอาหารทั้งสองแบบหลังนี้ หากทำเป็นเมนูอาหารจานเดียว จะมี 4 รูปแบบ คือ
            1. ชนกันปกติ เช่น ข้าวหมูย่างเกลือ ข้าวผัดกะเพราไก่ ข้าวหมูทอดกระเทียมพริกไทย
            2. ใช้กริยาราด ตามด้วยชื่อเมนูเหล่านี้เป็นนามวลี เช่น ข้าวราดปูผัดผงกะหรี่ (ราด=กริยาหลัก)
            3. เติมข้าวข้างหน้า แล้วผลักนามประธานไปเป็นพารามิเตอร์หลัก เช่น ข้าวผัดพริกแกงหมึก (ราด=กริยาหลักแต่ละไว้ในฐานที่เข้าใจกัน)
            4. ภาษาพูด เติมราดข้างหลัง เพื่อเน้นชนิดอาหารให้เป็นประธานของวลี หมึกผัดพริกแกงราดข้าว/ผัดพริกแกงหมึกราดข้าว (ราด=กริยาหลัก), หมึกผัดพริกแกงคลุกข้าว/ผัดพริกแกงหมึกคลุกข้าว (คลุก=กริยาหลัก)

            สรุป

            รูปแบบเมนูอาหารในภาษาไทย มักจะอยู่ในรูปเสมือน passive เป็นหลัก คือเอาสิ่งที่เราต้องการเน้นมาไว้ข้างหน้า วางต่อท้ายด้วยส่วนขยายไปเรื่อยๆ โดยทั้งหมดทั้งมวลนี้ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น นามวลี ด้วยสมการ
              นามประธาน (+ขยายนาม)  +  กริยา (+ขยายกริยา)  +  พารามิเตอร์หลัก  +  (พารามิเตอร์รอง (+ .... )) 
            ซึ่งพารามิเตอร์รองนี้ นอกจากเป็นนามโดดๆ อาจจะเป็นชุดนามวลีนี้อีกรอบ ครอบซ้อนลงไปก็ได้ เช่น ข้าวผัดกะเพราไก่ ไข่ดาว ซึ่งพารามิเตอร์ ไข่ดาว ก็เข้าสูตรตามนี้อีกที หรือจะเป็น แกงส้มชะอมไข่ทอด ซึ่ง ชะอมไข่ทอด ก็เป็นนามวลีมาทำหน้าที่พารามิเตอร์ เช่นกัน


            จบเถอะ หาข้าวราดแกงกินแปป

            ปล. ขอปิดด้วยรูปเมนูอาหารตามสุ่ม หลายคนอาจจะเคยเจอใน ทวิตเตอร์และเฟซบุคแล้ว

            Comments

            1. The Best Poker Sites in Canada - Oklahoman Casino Guru
              The Best Online 하하 포커 Poker Sites in Canada · PokerStars · Best Poker 사이트추천 Sites in Canada · PokerStars 가입시 꽁머니 사이트 · Best Canadian Poker Sites 사다리 사이트 · PokerStars · Best Canadian Poker Sites · The 라이브 스코어 Best Canadian

              ReplyDelete
            2. pg slot เว็บตรงอันดับ 1 เมื่อพูดถึงความบันเทิงออนไลน์ ไม่สามารถที่จะไม่พูดถึงสล็อตออนไลน์ได้ PG SLOT เกมสล็อตได้กลายเป็นหนึ่งในเกมคาสิโนที่นิยมและเป็นที่นิยมมากที่สุดในยุคปัจจุบันนี้

              ReplyDelete

            Post a Comment

            Popular posts from this blog

            ต้มจืด VS แกงจืด : แตกต่างแต่เหมือนกัน

            วันนี้ยังคงอยู่ต่อมาจากเรื่องข้าวแกง ในร้านข้าวแกงมักจะมีอาหารประเภทหนึ่งเหมือนๆกัน นั่นก็คือ ต้มจืด .... เอ๊ะ หรือว่าแกงจืด เอ๊ะหรือต้มจืดถูกแล้ว อันดับแรกเราไปถามพี่พจน์กันก่อน ต้มจืด หรือ แกงจืด พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2554 บอกว่างี้ [1] ต้ม (ก.) กิริยาที่เอาของเหลวเช่นนํ้าใส่ภาชนะแล้วทําให้ร้อนให้เดือดหรือให้สุกเช่น ต้มนํ้า ต้มข้าว   (ว.) เรียกสิ่งที่ต้มแล้ว เช่น นํ้าต้ม ข้าวต้ม มันต้ม (น.) ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียวปั้นเป็นลูกกลมๆ เรียกว่า ขนมต้ม (ปาก) โดยปริยายใช้ว่าล่อลวงให้หลง ผู้ถูกล่อลวงให้หลง เรียกว่า ผู้ถูกต้ม. แกง (น.) กับข้าวประเภทที่เป็นน้ำ มีชื่อต่างๆ ตามวิธีปรุงและเครื่องปรุง เช่น แกงจืด แกงเผ็ด แกงส้ม. (ก.) ทํากับข้าวประเภทที่เป็นแกง. โอเค แกงจืด จบเลยเนอะ ปิดคดี . . . . . เดี๋ยวววว แล้วถ้าพจนานุกรมบอกว่าแกงจืด ทำไมคนนิยมใช้ต้มจืดกันพอสมควรล่ะ ? เรื่องนี้ คุณวิษณุ เครืองาม เคยเขียนไว้ในคอลัมน์ "เดินดิน กินข้าวแกง" ลงหนังสือพิมพ์มติชน ซึ่งทางมติชนเองก็ได้นำมาลงเว็บไซต์อีกที โดยกล่าวว่า [2] แกงจืดนั้น สม