วันนี้ยังคงอยู่ต่อมาจากเรื่องข้าวแกง ในร้านข้าวแกงมักจะมีอาหารประเภทหนึ่งเหมือนๆกัน นั่นก็คือ ต้มจืด .... เอ๊ะ หรือว่าแกงจืด เอ๊ะหรือต้มจืดถูกแล้ว อันดับแรกเราไปถามพี่พจน์กันก่อน ต้มจืด หรือ แกงจืด พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2554 บอกว่างี้ [1] ต้ม (ก.) กิริยาที่เอาของเหลวเช่นนํ้าใส่ภาชนะแล้วทําให้ร้อนให้เดือดหรือให้สุกเช่น ต้มนํ้า ต้มข้าว (ว.) เรียกสิ่งที่ต้มแล้ว เช่น นํ้าต้ม ข้าวต้ม มันต้ม (น.) ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียวปั้นเป็นลูกกลมๆ เรียกว่า ขนมต้ม (ปาก) โดยปริยายใช้ว่าล่อลวงให้หลง ผู้ถูกล่อลวงให้หลง เรียกว่า ผู้ถูกต้ม. แกง (น.) กับข้าวประเภทที่เป็นน้ำ มีชื่อต่างๆ ตามวิธีปรุงและเครื่องปรุง เช่น แกงจืด แกงเผ็ด แกงส้ม. (ก.) ทํากับข้าวประเภทที่เป็นแกง. โอเค แกงจืด จบเลยเนอะ ปิดคดี . . . . . เดี๋ยวววว แล้วถ้าพจนานุกรมบอกว่าแกงจืด ทำไมคนนิยมใช้ต้มจืดกันพอสมควรล่ะ ? เรื่องนี้ คุณวิษณุ เครืองาม เคยเขียนไว้ในคอลัมน์ "เดินดิน กินข้าวแกง" ลงหนังสือพิมพ์มติชน ซึ่งทางมติชนเองก็ได้นำมาลงเว็บไซต์อีกที โดยกล่าวว่า [2] แกงจืดนั้น สม...
เรื่องทั้งหมด ตั้งต้นมาจากเมื่อสามวันก่อน มีกรณีร้านแห่งหนึ่ง ขึ้นป้ายว่า "แกงราดข้าว" และมีผู้นำมาแชร์ในทวิตเตอร์ จนเกิดการพูดคุยออกความเห็นกันอย่างกว้างขวางในทวิตเตอร์ จนเวลาผ่านมาเข้าสู่วันที่สี่แล้ว ก็ยังมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกันอยู่ ซึ่งผมได้แสดงความเห็นอย่างคร่าวๆ ไว้ดังนี้ ซึ่งหลังจากนั้นมีการแสดงเห็นต่อเนื่องกันอย่างยาวเหยียดตามมา โดยผมขออนุญาตไล่เรียงทีละประเด็นดังนี้ ชื่อเมนูคืออะไรกันแน่ พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ระบุชื่อเมนูนี้ว่า " ข้าวแกง " และอธิบายต่อว่า ร้านที่ขายอาหารประเภทนี้ เรียกว่า "ร้านข้าวแกง" ครับ ข้าวแกง คือ ข้าวกับแกง ซื่อๆเนี่ยแหละ คือต้องบอกว่า ในอดีตแล้ว มันเป็นเมนูที่มี ข้าวต่างหากเป็นจานๆ แล้วตักแกงเป็นถ้วยๆ แยกไป ไม่ได้ราดเลย แต่แกงนี้มักเป็น delicatessen เป็นอาหารปรุงสำเร็จแล้ว ไม่ใช่ร้านอาหารที่ปรุงทีละจาน ทีละครั้ง แล้วข้าวราดแกง มาจากไหน เอาซื่อๆเลย จากข้าวแกง ที่กินแยกสองจาน แยกข้าวแยกกับ สังคมเราก็พัฒนามาให้เป็นอาหารจานเดียว เพื่อความรวดเร็ว เลย "ตักราด" จากข้าวแกง เลยเป็น ข้าว...